สมุทรปราการ แหล่งวิถีชีวิตชาวมอญ เมืองหน้าด่านของกรุงเทพฯ

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
30/05/2567   -   30/05/2567
ทางกลุ่ม Line : TK Digital Guide & Small Talk
จำนวนที่รับ  
แชร์กิจกรรมนี้
แชร์กิจกรรมนี้  

“ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม” เป็นคำขวัญของจังหวัดสมุทรปราการ  จังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร โดยรอบ 5 จังหวัด  ได้แก่ จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร

                   ในเดือนพฤษภาคมนี้ มาทำความรู้จักจังหวัดสมุทรปราการ เมืองหน้าด่านชายทะเล ของกรุงเทพ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวมอญ เช่นที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองพระประแดง รวมถึงวิถีชีวิตที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่บ้านสาขลา รวมถึงสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ที่กลายเป็นเอกลักษณ์สำคัญของเมืองนี้

                  

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567 : บ้านสาขลา ชุมชนริมน้ำปากแม่น้ำเจ้าพระยา

                    บ้านสาขลา ตั้งอยู่ที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ความพิเศษของที่นี่คือเป็นหมู่บ้านชาวประมงเก่าแก่ ริมปากอ่าวไทย มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  วัดสาขลา ถือเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง สักการะหลวงพ่อโต และชมพระปรางค์เอนที่ไม่เหมือนใคร เที่ยวตลาดโบราณบ้านสาขลา และชิมกุ้มเหยียด อาหารพื้นถิ่นแห่งนี้

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567 ชุมชนมอญ แห่งเมืองพระประแดง

                   อำเภอพระประแดง เป็นอำเภอที่มีชุมชนชาวมอญมากที่สุด ซึ่งมีถึง 16 หมู่บ้าน เอกลักษณ์โดดเด่นที่พบได้ในชุมชนมอญพระประแดงคือ ชื่อหมู่บ้านยังเป็นภาษามอญ สักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองที่ไม่เหมือนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองที่ใดของประเทศ วัดสำคัญแห่งเมืองพระประแดง เช่น วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร,วัดโปรดเกศเชษฐาราม,วัดทรงธรรมวรวิหาร

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ

                   พิพิธภัณฑ์ของเอกชนถึงแม้จะมีประวัติการก่อสร้างไม่เกิน 50 ปี แต่ก็มีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจ วัสดุที่สร้าง เช่น ปูนปั้นจากเมืองเพชรบุรีประดับเครื่องถ้วยอย่างโบราณ ความหมายที่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม 

 

                  

* คุยกันทุกวันพฤหัสบดี เวลา 14.00 – 16.00 น. ตลอดเดือนพฤษภาคม 2567 ใน Group Line กลุ่มเฉพาะ

 

 

>