TK Small Talk อยุธยา ราชธานีเก่า แหล่งอู่ข้าวอู่น้ำ

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
11/07/2567   -   25/07/2567
ออนไลน์
จำนวนที่รับ  
แชร์กิจกรรมนี้
แชร์กิจกรรมนี้  

              เดือนกรกฎาคมนี้ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชวนพูดคุยและทำความรู้จัก “อยุธยา ราชธานีเก่า แหล่งอู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา เลอคุณค่ามรดกโลก” หรือที่เราเรียกกันว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมืองหลวงเก่าของประเทศไทย สมัยก่อนมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่แห่งนี้ อาทิ ชาวโปรตุเกส ชาวจีน ชาวญี่ปุ่น และชาวฮอลันดา ส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในหลายด้าน ด้านเศรษฐกิจและการค้า ด้านสังคม ด้านการปกครอง ในปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยาถือเป็นแหล่งรวมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น วัดพนัญเชิง ศาลเจ้าแม่ดอกหมาก หมู่บ้านญี่ปุ่น และพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยาที่เราจะกล่าวถึงดังต่อไปนี้

 

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 : เปิดตำนานขอรักวัดพนัญเชิง 
             วัดพนัญเชิงวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี และได้รับการบูรณะอย่างดีมาจนถึงในปัจจุบัน ภายในพระอุโบสถ วัดพนัญเชิงเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปไตรรัตนายก (หลวงพ่อโตหรือซำปอกง) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอยุธยาที่ได้รับความเคารพบูชาทั้งในหมู่คนไทยและคนจีนมาอย่างยาวนาน นอกจากได้สักการะขอพรจากหลวงพ่อโตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลาย ๆ คนหากได้ฟังตำนานของพระนางสร้อยดอกหมากอนุสรณ์แห่งความรักกับเจ้าชายสายน้ำผึ้งที่จบลงด้วยโศกนาฏกรรมในยุคก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่เคยได้ยินเรื่องเล่านี้จะต้องมาขอพรแห่งความรัก ณ ที่แห่งนี้จำนวนไม่น้อย


วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 : หมู่บ้านญี่ปุ่นแห่งเมืองพระนครศรีอยุธยา
             หมู่บ้านญี่ปุ่น ตั้งอยู่ภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากวัดพนัญเชิงเพียงแค่ 1 กิโลเมตร ภายในหมู่บ้านญี่ปุ่นมีการจัดแสดงนิทรรศการความสัมพันธุ์ระหว่างอยุธยาและการต่างประเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งบุคคลสำคัญดังที่ปรากฏภายในละครที่ได้รับความนิยมอย่าง บุพเพสันนิวาส คือ แม่มะลิ ถึงหรือ มารี กีมาร์ (Marie Guimar) ปัจจุบันหมู่บ้านญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในสมัยอยุธยา อีกทั้งเพื่อให้เป็นอนุสรณ์สำคัญแห่งหมู่บ้านญี่ปุ่นเดิมอีกด้วย  

 
วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
              พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ริมถนนโรจนะ ใกล้กับบริเวณศาลากลางของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหลังเก่า ถือได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศ ความโดดเด่นของสถานที่แห่งนี้คือ การนำโบราณวัตถุมาจัดแสดงได้อย่างน่าสนใจ โดยตัวพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 อาคาร ภายในแต่ละอาคารจะมีการจัดแสดงเรื่องราวและวัตถุโบราณที่มีความต่างแตกกันออกไป เช่น โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ตลอดจนการแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตประจำวันของคนไทยในสมัยก่อน

 

* คุยกันทุกวันพฤหัสบดี เวลา 14.00 – 16.00 น. ตลอดเดือนกรกฎาคม 2567 ใน Group Line กลุ่มเฉพาะ

 

 

 


 

>