TK Small Talk คนจีนในกรุงเทพฯ

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
10/10/2567   -   24/10/2567
กลุ่ม Line ผ่าน Zoom
จำนวนที่รับ  
แชร์กิจกรรมนี้
แชร์กิจกรรมนี้  

“ชาวจีน” ในประเทศไทยประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยหลายกลุ่ม ปัญหาทางการเมือง ความภัยธรรมชาติ ดึงดูดให้ชาวจีนเดินทางเข้ามาแสวงโชคและลงทุนกันอย่างมหาศาล จนมาสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม รัฐบาลพยายามผสมกลมกลืนชาวจีนกลุ่มต่างๆ เข้าสู่ความเป็นไทย แต่ก็ยังคงรักษาวัฒนธรรมของตนเอง ประเพณี พิธีกรรม และอาหาร จนได้รับการยอมรับกลายเป็นส่วนหนึ่งของไทย  มาตามรอยชาวจีนบนแผ่นดินไทยว่ามีอะไรกันบ้าง ตลอดเดือนตุลาคมนี้

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 : บ้านโซวเฮงไถ่ กับหนังสือ “นายแม่ เรื่องดี ๆ ของนารีสยาม”

            บ้านโซวเฮงไถ่ ตั้งอยู่ในบริเวณตลาดน้อย เป็นบ้านสถาปัตยกรรมจีนแบบ "สี่เรือน ล้อม ลาน" สร้างตั้งเเต่สมัยกรุงธนบุรีมีอายุมากกว่า 220 ปี เป็นบ้านของพระอภัยวานิช (เจ้าสัวจาด) นายอากรรังนกชาวจีนฮกเกี้ยน มาตามรอยหนังสือ “นายแม่ เรื่องดี ๆ ของนารีสยาม”ที่สอดแทรกเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของเจ๊สัวยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2567: ย่านกะดีจีน-คลองสาน

                   ย่านกะดีจีน-คลองสาน ย่านเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ราชธานีสมัยกรุงธนบุรี ที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน และการทำการค้าของผู้คนจากหลากหลายชาติพันธุ์เกิดเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เช่น บ้านหวั่งหลี ซึ่งอดีตเคยเป็นท่าเรือขนส่งสินค้า นอกจากนั้นยังมีวัดและศาลเจ้าบริเวณใกล้เคียงที่สะท้อนสภาพความเป็นอยู่ในอดีต

 

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2567: ชุมชนชาวจีน ย่านวัดเกาะ

                   ย่านวัดเกาะเป็นส่วนหนึ่งของสำเพ็ง ซึ่งเป็นชุมชนจีนเก่าที่สุดในกรุงเทพฯ เพราะการขยายตัวครั้งแรกของกรุงเทพฯ คือ สำเพ็ง บนถนนสำเพ็งในสมัยรัชกาลที่ 1 แล้วจึงตามมาด้วยย่านเจริญกรุง บนถนนเจริญกรุง สมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาจึงมีการตัดถนนเยาวราชในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่คลองโอ่งอ่าง ถึงคลองผดุงกรุง เกษม นอกจากชาวจีนแล้ว ยังมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แขก ฝรั่ง ไทย

 

* คุยกันทุกวันพฤหัสบดี เวลา 14.00 – 16.00 น. ตลอดเดือนตุลาคม 2567 ใน Group Line กลุ่มเฉพาะ

* สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสมัครเข้ากลุ่มเพื่อพูดคุยและสอบถามรายละเอียดก่อนได้ที่

>